ด่วนที่สุด บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ ตร. โทร. ๐ ๒๒๐๕ ๓๔๗๒
ที่ ๐๐๑๑.๒๕/๒๐๕๖ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
เรื่อง แนวทางปฎิบัติตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓
ผบช.น.,ภ.๑-๙,ศชต.,ก.,ปส.,สตม.,สนว.,กมค. และ จตร.(หน.จต.)
ด้วยได้มีพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ ใช้บังคับ โดยยกเลิกพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๓๔ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๓ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๔๘ พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวนี้มีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสิทธิ สวัสดิภาพและวิธีปฏิบัติต่อเด็ก เยาวชนและบุคคลในครอบครัวรวมทั้งกระบวนการพิจารณาของศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเป็นสำคัญและได้มีบทบัญญัติที่เปลี่ยนแปลงหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับการปฎิบัติต่อเด็กหรือเยาวชนที่ถูกจับกุมหรือดำเนินคดีอาญาหลายกรณี
ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติของเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานสอบสวนเป็นไปโดยถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงกำหนดแนวทางปฎิบัติไว้ดังนี้
๑. บททั่วไป
๑.๑ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ มีผลใช้ บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
๑.๒ คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลเยาวชนและครอบครัว ได้แก่
(๑) คดีอาญาใด ๆ ที่มีข้อกล่าวหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด
(๒) คดีอาญาที่มีข้อกล่าวหาว่าผู้ใหญ่ (อายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐
๑.๓ คดีอาญาใด ๆ ที่มีข้อกล่าวหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดและคดีอาญาที่มีข้อกล่าวหาว่าผู้ใหญ่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐ แม้การสอบสวนผู้ต้องหาจะให้การรับสารภาพตลอดข้อหาก็ตาม พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจะต้องทำการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานและส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมความเห็นไปยังพนักงานอัยการ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจะนำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานอัยการเพื่อฟ้องศาลด้วยวาจาโดยไม่ทำการสอบสวนไม่ได้ ทั้งนี้ เพราะพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๗๘ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้ในทำนองเดียวกันว่า ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนและส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการ
๒. การจับกุมและการควบคุมเด็กหรือเยาวชน
๒.๑ ห้ามมิให้จับกุมเด็กซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด เว้นแต่ เด็กนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีหมายจับหรือคำสั่งของศาล
การจับกุมเยาวชนซึ่งต้องหาว่า กระทำความผิดให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
๒.๒ ห้ามมิให้ควบคุม คุมขัง กักขัง หรือใช้มาตรการอื่นใดอันมีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด เว้นแต่มีหมายหรือคำสั่งของศาลหรือเป็นกรณีการคุมตัวเท่าที่จำเป็นเพื่อดำเนินการนำตัวเด็กหรือเยาวชนไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุม
๒.๓ ในการจับกุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด ให้เจ้าพนักงานผู้จับแจ้งแก่เด็กและเยาวชนผู้ถูกจับให้พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ถูกจับ ให้เจ้าพนักงานผู้จับทำบันทึกการจับกุม โดยแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบและบันทึกรายละเอียดดังกล่าวลงในบันทีกการจับกุม ทั้งนี้ ห้ามมิให้ผู้จับถามและบันทึกคำให้การผู้ถูกจับ(รวมทั้งคำรับสารภาพหรือคำปฏิเสธ)เป็นอันขาด ยกเว้นการสอบถามเพื่อตรวจสอบว่าเป็นบุคคลตามหมายจับหรือไม่ และถ้าขณะทำบันทึกการจับกุมมีบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย อยู่ด้วยในขณะนั้น ต้องทำบันทึกการจับกุมต่อหน้าบุคคลดังกล่าวและจะให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อเป็นพยานก็ได้
เมื่อพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่จับกุมเด็กหรือเยาวชนได้รับตัวผู้ถูกจับและบันทึกการจับกุมแล้ว ให้ส่งตัวผู้ถูกจับพร้อมบันทึกการจับกุมไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบโดยเร็วและให้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน
บันทึกการจับกุมควรมีสาระสำคัญตามตัวอย่างแนบท้ายหนังสือนี้
๒.๔ ถ้าขณะจับกุมมีบิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย อยู่ด้วยในขณะนั้น ให้เจ้าพนักงานผู้จับแจ้งเหตุแห่งการจับให้บุคคลดังกล่าวทราบและในกรณีความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินห้าปี เจ้าพนักงานผู้จับจะสั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้นำตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่เด็กและเยาวชนถูกจับก็ได้ แต่ถ้าในขณะจับกุมไม่มีบุคคลดังกล่าวอยู่กับผู้ถูกจับให้เจ้าพนักงานผู้จับแจ้งให้บุคคลดังกล่าวนั้นคนหนึ่งคนใดทราบถึงการจับกุมในโอกาสแรกเท่าที่สามารถกระทำได้และหากผู้ถูกจับประสงค์ติดต่อสื่อสารหรือปรึกษาหารือกับบุคคลเหล่านั้นซึ่งไม่เป็นอุปสรรคต่อการจับกุมและอยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการได้ ให้เจ้าพนักงานผู้จับดำเนินการให้ตามควรแก่กรณีโดยไม่ชักช้า
ในการพิจารณามอบให้บุคคลตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้นำเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับ ให้ผู้จับคำนึงถึงภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น รวมถึงผู้ถูกจับจะหลบหนีหรือไม่ ทั้งนี้ ให้บันทึกการส่งมอบตัวผู้ถูกจับให้ผู้รับมอบลงชื่อเป็นหลักฐานไว้ในบันทึกการจับกุมด้วย
๒.๕ ในการจับกุมและควบคุมเด็กหรือเยาวชนต้องกระทำโดยละมุนละม่อมโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไม่เป็นการประจานเด็กหรือเยาวชน และห้ามมิให้ใช้วิธีการควบคุมเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือเพื่อความปลอดภัยของเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกจับหรือบุคคลอื่น รวมทั้งมิให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่เด็กไม่ว่ากรณีใด ๆ เว้นแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อป้องกันการหลบหนีหรือเพื่อความปลอดภัยของเด็กผู้ถูกจับหรือบุคคลอื่น
ห้ามมิให้เจ้าพนักงานผู้จับ พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับ หรือพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ จัดให้มีหรือยินยอมให้มีการถ่ายภาพหรือบันทึกภาพเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด เว้นเพื่อประโยชน์ในการสอบสวน
๓. การสอบสวนคดีอาญาและมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา
๓.๑ เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับ หรือเด็กหรือเยาวชนนั้นเข้ามอบตัว ให้รีบสอบถามเด็กหรือเยาวชนในเบื้องต้นเพื่อทราบชื่อตัว ชื่อสกุล อายุ สัญชาติ ถิ่นที่อยู่ สถานที่เกิด และอาชีพของเด็กหรือเยาวชน ตลอดจนชื่อตัว ชื่อสกุล และรายละเอียดเกี่ยวกับบิดามารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย แล้วแจ้งข้อกล่าวหาให้เด็กหรือเยาวชนทราบและแจ้งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจทราบเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
บันทึกการสอบถามเบื้องต้นควรมีสาระสำคัญตามตัวอย่างแนบท้ายหนังสือนี้
๓.๒ การสอบถามเบื้องต้นตาม ๓.๑ ให้กระทำในสถานที่ที่เหมาะสมโดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่นหรือมีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในสถานที่นั้นอันมีลักษณะเป็นการประจานเด็กหรือเยาวชน ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงอายุ เพศ สภาวะของเด็กหรือเยาวชนเป็นสำคัญและต้องใช้ภาษาหรือถ้อยคำที่ทำให้เด็กหรือเยาวชนสามารถเข้าใจได้โดยง่าย โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กรณีเด็กหรือเยาวชนไม่สามารถสื่อสารหรือไม่เข้าใจภาษาไทย ก็ให้จัดหาล่ามให้ตามประมวลก)หมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือจัดหาเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกหรือความช่วยเหลืออื่นใดให้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หากเด็กหรือเยาวชนประสงค์จะติดต่อสื่อสารหรือปรึกษาหารือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยและอยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการได้ ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการให้ตามควรแก่กรณีโดยไม่ชักช้า
๓.๓ เมื่อได้สอบถามเบื้องต้นและแจ้งข้อกล่าวหาตาม ๓.๑ แล้ว ในกรณีที่ไม่มีหมายจับ และเด็กหรือเยาวชนถูกเรียกมา ส่งตัวมา เข้าหาเอง มาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้า หรือมีผู้นำตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นเข้ามอบตัว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดำเนินการตามมาตรา ๑๓๔ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยอนุโลม โดยไม่ต้องนำตัวเด็กและเยาวชนไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุมภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง เนื่องจากไม่ถือว่าเป็นการจับ จึงไม่มีอำนาจควบคุมหรือปล่อยชั่วคราว แต่กฎหมายกำหนดให้พนักงานอัยการต้องยื่นฟ้องต่อศาลให้ทันภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นปรากฎตัวอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ดังนั้น เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้แจ้งข้อกล่าวหาให้เด็กหรือเยาวชนทราบแล้ว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทำหนังสือแจ้งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กและเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจเพื่อทำการสืบเสาะข้อเท็จจริงโดยไม่ต้องส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปด้วย และให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนพยานหลักฐานอื่นต่อไปและให้ติดตามรายงานการสืบเสาะข้อเท็จจริงมารวมเข้าสำนวนไว้ด้วย
๓.๔ เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับ และได้ดำเนินการตาม ๓.๑ แล้ว ให้นำเด็กหรือเยาวชนไปศาลเพื่อให้ศาลตรวจสอบการจับกุมทันที ทั้งนี้ ภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ แต่ไม่นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกจับจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมาศาลเข้าในกำหนดเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนั้นด้วย
กรณีศาลสั่งปล่อยตัวเด็กหรือเยาวชนที่ถูกจับเนื่องจากการจับเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวนคดีนั้นต่อไป โดยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๗๘ และเมื่อทำการสอบสวนเสร็จสิ้น และมีความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้เรียกเด็กหรือเยาวชนมาเพื่อส่งตัวพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ
คำร้องตรวจสอบการจับควรมีสาระสำคัญตามตัวอย่างแนบท้ายหนังสือนี้
๓.๕ ในกรณีที่ต้องนำเด็กหรือเยาวชนไปศาลเพื่อให้ศาลตรวจสอบการจับกุมดังกล่าวใน ๓.๔ หากเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดมีบิดา มารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย และบุคคลหรือองค์การดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ายังสามารถปกครองเด็กหรือเยาวชนนั้นได้ พนักงานสอบสวนอาจมอบตัวเด็กหรือเยาวชนให้บุคคลดังกล่าวไปปกครองดูแลและสั่งให้นำตัวเด็กหรือเยาวชนไปยังศาลภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ในกรณีเช่นว่านี้ หากมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเด็กหรือเยาวชนจะไม่ไปศาล พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจะเรียกประกันจากบุคคลดังกล่าวตามควรแก่กรณีก็ได้
หลักเกณฑ์ วิธีการ และการกำหนดหลักทรัพย์ในการประกันตัวเด็กหรือเยาวชนให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวของ ตร. โดยอนุโลม
๓.๖ กรณีตาม ๓.๔ และ ๓.๕ มิให้นำไปใช้บังคับในคดีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเห็นว่า คดีอาจเปรียบเทียบได้
๓.๗ ในการสอบสวนเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด ให้กระทำในสถานที่เหมาะสมโดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่นหรือมีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในสถานที่นั้นอันมีลักษณะเป็นการประจานเด็กหรือเยาวชน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงอายุ เพศ สภาวะของเด็กหรือเยาวชนเป็นสำคัญ และต้องใช้ภาษาและถ้อยคำที่ทำให้เด็กหรือเยาวชนสามารถเข้าใจได้ง่าย โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ถ้าเด็กหรือเยาวชนไม่สามารถสื่อสารหรือไม่เข้าใจภาษาไทยให้จัดหาล่ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้ หรือจัดหาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือความช่วยเหลืออื่นใดให้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทั้งนี้ หากพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเห็นว่า สามารถทำการสอบสวนปากคำเด็กหรือเยาวชนนั้นภายหลังการสอบถามเบื้องต้นตาม ๓.๑ ได้ทันก่อนนำตัวส่งศาลเพื่อให้ศาลตรวจสอบการจับกุม ก็ให้สามารถดำเนินการได้
๓.๘ การแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดไม่จำต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กหรือเยาวชนร้องขอ และพนักงานอัยการอยู่ด้วยตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ และมาตรา ๑๓๔/๒ แต่จะต้องมีที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชนร่วมอยู่ด้วยทุกครั้ง พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่าเด็กหรือเยาวชนมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของเด็กหรือเยาวชนอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ ทั้งนี้ เมื่อคำนึงถึงอายุ เพศ และสภาพจิตของเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดแต่ละราย
ที่ปรึกษากฎหมายตามวรรคหนึ่งดังกล่าวตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๔ มาตรา ๑๒๑ ได้กำหนดคุณสมบัติไว้ว่าต้องมีคุณสมบัติเป็นทหนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความและผ่านการอบรมเรื่องวิธีการพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว มีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยา การสังคมสงเคราะห์ และความรู็อื่นที่เกี่ยวข้องตามกฎหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา แต่ตามบทเฉพาะกาล มาตรา ๒๐๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้ภายในสองปี นับแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๓๔ มาใช้บังคับ ซึ่งตามมาตรา ๘๔ ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้กำหนดให้ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากฎหมายมี ๒ ประเภท คือ (๑) ผู้ที่เป็นทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความหรือ (๒) ผู้ที่ได้รับปริญญาทางกฎหมายไม่ต่ำกว่าชั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและได้จดทะเบียนเป็นที่ปรึกษากฎหมาย ฉะนั้น ในระยะเริ่มต้นแรกนี้จึงให้ใช้ที่ปรึกษากฎหมายที่มีคุณสมบัติทั้งสองประเภทดังกล่าวประเภทใดประเภทหนึ่ง
ในการแจ้งข้อกล่าวหาและการสอบถามปากคำเด็กหรือเยาวชนนั้น บิดามารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนพักอาศัยอยู่ด้วยจะเข้าร่วมรับฟังการสอบสวนดังกล่าวด้วยก็ได้
๓.๙ เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจัดให้มีหรืออนุญาตให้มีหรือยินยอมให้มีการถ่ายภาพหรือบันทึกภาพเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด เว้นแต่ประโยชน์ในการสอบสวน
๓.๑๐ ในระหว่างการสอบสวน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอายุของเด็กที่ถูกจับกุมหรือควบคุมให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีอำนาจดำเนินการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่หากปรากฎภายหลังว่าเด็กนั้นมีอายุไม่เกินสิบปีบริบูรณ์ในขณะกระทำความผิดและเด็กนั้นอยู่ในควบคุมของสถานพินิจหรือองค์การอื่นใด ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแจ้งให้สถานพินิจหรือองค์การดังกล่าวทราบ เพื่อที่สถานพินิจหรือองค์การดังกล่าวนั้นจะได้รายงานให้ศาลทราบและมีคำสั่งต่อไป
๓.๑๑ หากปรากฏเป็นที่แน่ชัดว่าเด็กซึ่งถูกจับกุมหรือควบคุมนั้นในขณะกระทำความผิดอายุไม่เกินสิบปีบริบูรณ์ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวนไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ทำความเห็นว่า เด็กนั้นได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา หรือพยานหลักฐานรับฟังไม่ได้ว่าเด็กกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาเท่านั้น(ไม่ต้องทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือควรสั่งไม่ฟ้อง) แล้วส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ
ในระหว่างการสอบสวนให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมอบตัวเด็กให้อยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย ในกรณีที่เด็กไม่มีบิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การดังกล่าว ให้ส่งตัวเด็กไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในโอกาสแรกที่กระทำได้ แต่ต้องภายในเวลาไม่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่เด็กนั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
(๒) ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบด้วยว่าเด็กไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา หรือพยานหลักฐานรับฟังไม่ได้ว่าเด็กกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ แจ้งบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วยหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบแล้วแต่กรณีในโอกาสแรกที่กระทำได้แต่ต้องภายในเวลาไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่รับทราบความเห็นของพนักงานอัยการ
(๓) หากพนักงานอัยการเห็นว่าเด็กนั้นได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบส่งตัวเด็กไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในโอกาสแรกที่กระทำได้แต่ต้องภายในเวลาไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่รับทราบความเห็นของพนักงานอัยการเพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ
๓.๑๒ เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดตาม ๒.๓ หรือกรณีเด็กหรือเยาวชนปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ๓.๑ ให้รีบดำเนินการสอบสวนและส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องให้ทันภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นถูกจับกุมหรือรับทราบข้อกล่าวหากรณีปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ แล้วแต่กรณี
ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินหกเดือนแต่ไม่เกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม หากเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องเด็กหรือเยาวชนนั้นต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้อีกครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองครั้ง
ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อศาลสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องครบสองครั้งแล้ว หากพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปอีกโดยอ้างเหตุจำเป็น ศาลจะอนุญาตตามขอนั้นได้ต่อเมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้แสดงถึงเหตุจำเป็นและนำพยานมาเบิกความประกอบจนเป็นที่พอใจแก่ศาล ในกรณีเช่นว่านี้ ศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องต่อไปอีกได้ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองครั้ง
การผัดฟ้องตามวรรคสองและวรรคสาม ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีอำนาจผัดฟ้องต่อศาลที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบอยู่ในเขตอำนาจนั้นได้
๓.๑๓ ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนผู้ต้องหาหลบหนีจากการควบคุมในระหว่างสอบสวนหรือในระหว่างจัดทำและปฏิบัติตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดี มิให้นับระยะเวลาดังกล่าวนั้นรวมเข้าในกำหนดระยะเวลาตาม ๓.๑๒
๓.๑๔ ในกรณีที่จำต้องควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนผู้ต้องหานั้นไว้ปะปนกับผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่ และห้ามมิให้ควบคุมไว้ในห้องขังที่จัดไว้สำหรับผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่
๓.๑๕ เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชน ห้ามมิให้เปิดเผยหรือนำประวัติการกระทำความผิดอาญาของเด็กหรือเยาวชนไปพิจารณาให้เป็นผลร้ายหรือเป็นการเลือกปฏิบัติอันไม่เป็นธรรมแก่เด็กหรือเยาวชนนั้นไม่ว่าในทางใด ๆ เว้นแต่เป็นการใช้ประกอบดุลยพินิจของศาลเพื่อกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
๓.๑๖ ในระหว่างการจัดทำและปฏิบัติตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดี ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบงดการสอบปากคำหรือดำเนินการใด ๆ เฉพาะกับเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด แต่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบยังต้องการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานอื่น ๆ ต่อไป
๔. กรณีเมื่อมีการกระทำอันเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวและผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงไม่อยู่ในสภาพหรือวิสัยที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลเยาวชนและครอบครัวออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวตามกฎหมายได้เอง พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่บุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่ หรือมีภูมิลำเนา หรือมีมูลเหตุเกิดอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีเขตอำนาจแทนบุคคลนั้นก็ได้
๕. กรณีที่มีการปฏิบัติต่อเด็กโดยมิชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กและเด็กหรือผู้ปกครองของเด็กไม่อยู่ในสภาพหรือวิสัยที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลเยาวชนและครอบครัวออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่เด็กนั้นมีถิ่นที่อยู่ หรือมีภูมิลำเนา หรือมีมูลเหตุเกิด อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีเขตอำนาจแทนเด็กหรือผู้ปกครองเด็กนั้นก็ได้
๖. การดำเนินคดีใดที่ยังมิได้กระทำจนล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จะต้องกระทำตามกฎหมายที่ใช้บังคับก่อนพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ แต่ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่อาจกระทำได้ ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้ดำเนินคดีนั้นตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ เช่น กรณีเด็กหรือเยาวชนปรากฏต่อหน้าพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบรับดำเนินการสอบสวน และดำเนินการตามมาตรา ๗๘
จึงแจ้งมาเพื่อทราบ และแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาผู้เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติต่อไป
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี
ผบ.ตร.
ส่วนราชการ ตร. โทร. ๐ ๒๒๐๕ ๓๔๗๒
ที่ ๐๐๑๑.๒๕/๒๐๕๖ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
เรื่อง แนวทางปฎิบัติตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓
ผบช.น.,ภ.๑-๙,ศชต.,ก.,ปส.,สตม.,สนว.,กมค. และ จตร.(หน.จต.)
ด้วยได้มีพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ ใช้บังคับ โดยยกเลิกพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๓๔ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๓ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๔๘ พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวนี้มีเจตนารมณ์ในการคุ้มครองสิทธิ สวัสดิภาพและวิธีปฏิบัติต่อเด็ก เยาวชนและบุคคลในครอบครัวรวมทั้งกระบวนการพิจารณาของศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเป็นสำคัญและได้มีบทบัญญัติที่เปลี่ยนแปลงหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับการปฎิบัติต่อเด็กหรือเยาวชนที่ถูกจับกุมหรือดำเนินคดีอาญาหลายกรณี
ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติของเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานสอบสวนเป็นไปโดยถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงกำหนดแนวทางปฎิบัติไว้ดังนี้
๑. บททั่วไป
๑.๑ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ มีผลใช้ บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
๑.๒ คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลเยาวชนและครอบครัว ได้แก่
(๑) คดีอาญาใด ๆ ที่มีข้อกล่าวหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด
(๒) คดีอาญาที่มีข้อกล่าวหาว่าผู้ใหญ่ (อายุ ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐
๑.๓ คดีอาญาใด ๆ ที่มีข้อกล่าวหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดและคดีอาญาที่มีข้อกล่าวหาว่าผู้ใหญ่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐ แม้การสอบสวนผู้ต้องหาจะให้การรับสารภาพตลอดข้อหาก็ตาม พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจะต้องทำการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานและส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมความเห็นไปยังพนักงานอัยการ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจะนำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานอัยการเพื่อฟ้องศาลด้วยวาจาโดยไม่ทำการสอบสวนไม่ได้ ทั้งนี้ เพราะพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๗๘ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๘ วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้ในทำนองเดียวกันว่า ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนและส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการ
๒. การจับกุมและการควบคุมเด็กหรือเยาวชน
๒.๑ ห้ามมิให้จับกุมเด็กซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด เว้นแต่ เด็กนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีหมายจับหรือคำสั่งของศาล
การจับกุมเยาวชนซึ่งต้องหาว่า กระทำความผิดให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
๒.๒ ห้ามมิให้ควบคุม คุมขัง กักขัง หรือใช้มาตรการอื่นใดอันมีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด เว้นแต่มีหมายหรือคำสั่งของศาลหรือเป็นกรณีการคุมตัวเท่าที่จำเป็นเพื่อดำเนินการนำตัวเด็กหรือเยาวชนไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุม
๒.๓ ในการจับกุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด ให้เจ้าพนักงานผู้จับแจ้งแก่เด็กและเยาวชนผู้ถูกจับให้พนักงานสอบสวนท้องที่ที่ถูกจับ ให้เจ้าพนักงานผู้จับทำบันทึกการจับกุม โดยแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบและบันทึกรายละเอียดดังกล่าวลงในบันทีกการจับกุม ทั้งนี้ ห้ามมิให้ผู้จับถามและบันทึกคำให้การผู้ถูกจับ(รวมทั้งคำรับสารภาพหรือคำปฏิเสธ)เป็นอันขาด ยกเว้นการสอบถามเพื่อตรวจสอบว่าเป็นบุคคลตามหมายจับหรือไม่ และถ้าขณะทำบันทึกการจับกุมมีบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย อยู่ด้วยในขณะนั้น ต้องทำบันทึกการจับกุมต่อหน้าบุคคลดังกล่าวและจะให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อเป็นพยานก็ได้
เมื่อพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่จับกุมเด็กหรือเยาวชนได้รับตัวผู้ถูกจับและบันทึกการจับกุมแล้ว ให้ส่งตัวผู้ถูกจับพร้อมบันทึกการจับกุมไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบโดยเร็วและให้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน
บันทึกการจับกุมควรมีสาระสำคัญตามตัวอย่างแนบท้ายหนังสือนี้
๒.๔ ถ้าขณะจับกุมมีบิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย อยู่ด้วยในขณะนั้น ให้เจ้าพนักงานผู้จับแจ้งเหตุแห่งการจับให้บุคคลดังกล่าวทราบและในกรณีความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินห้าปี เจ้าพนักงานผู้จับจะสั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้นำตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่เด็กและเยาวชนถูกจับก็ได้ แต่ถ้าในขณะจับกุมไม่มีบุคคลดังกล่าวอยู่กับผู้ถูกจับให้เจ้าพนักงานผู้จับแจ้งให้บุคคลดังกล่าวนั้นคนหนึ่งคนใดทราบถึงการจับกุมในโอกาสแรกเท่าที่สามารถกระทำได้และหากผู้ถูกจับประสงค์ติดต่อสื่อสารหรือปรึกษาหารือกับบุคคลเหล่านั้นซึ่งไม่เป็นอุปสรรคต่อการจับกุมและอยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการได้ ให้เจ้าพนักงานผู้จับดำเนินการให้ตามควรแก่กรณีโดยไม่ชักช้า
ในการพิจารณามอบให้บุคคลตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้นำเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับ ให้ผู้จับคำนึงถึงภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น รวมถึงผู้ถูกจับจะหลบหนีหรือไม่ ทั้งนี้ ให้บันทึกการส่งมอบตัวผู้ถูกจับให้ผู้รับมอบลงชื่อเป็นหลักฐานไว้ในบันทึกการจับกุมด้วย
๒.๕ ในการจับกุมและควบคุมเด็กหรือเยาวชนต้องกระทำโดยละมุนละม่อมโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไม่เป็นการประจานเด็กหรือเยาวชน และห้ามมิให้ใช้วิธีการควบคุมเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือเพื่อความปลอดภัยของเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกจับหรือบุคคลอื่น รวมทั้งมิให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่เด็กไม่ว่ากรณีใด ๆ เว้นแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อป้องกันการหลบหนีหรือเพื่อความปลอดภัยของเด็กผู้ถูกจับหรือบุคคลอื่น
ห้ามมิให้เจ้าพนักงานผู้จับ พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับ หรือพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ จัดให้มีหรือยินยอมให้มีการถ่ายภาพหรือบันทึกภาพเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด เว้นเพื่อประโยชน์ในการสอบสวน
๓. การสอบสวนคดีอาญาและมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา
๓.๑ เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับ หรือเด็กหรือเยาวชนนั้นเข้ามอบตัว ให้รีบสอบถามเด็กหรือเยาวชนในเบื้องต้นเพื่อทราบชื่อตัว ชื่อสกุล อายุ สัญชาติ ถิ่นที่อยู่ สถานที่เกิด และอาชีพของเด็กหรือเยาวชน ตลอดจนชื่อตัว ชื่อสกุล และรายละเอียดเกี่ยวกับบิดามารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย แล้วแจ้งข้อกล่าวหาให้เด็กหรือเยาวชนทราบและแจ้งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจทราบเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
บันทึกการสอบถามเบื้องต้นควรมีสาระสำคัญตามตัวอย่างแนบท้ายหนังสือนี้
๓.๒ การสอบถามเบื้องต้นตาม ๓.๑ ให้กระทำในสถานที่ที่เหมาะสมโดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่นหรือมีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในสถานที่นั้นอันมีลักษณะเป็นการประจานเด็กหรือเยาวชน ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงอายุ เพศ สภาวะของเด็กหรือเยาวชนเป็นสำคัญและต้องใช้ภาษาหรือถ้อยคำที่ทำให้เด็กหรือเยาวชนสามารถเข้าใจได้โดยง่าย โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กรณีเด็กหรือเยาวชนไม่สามารถสื่อสารหรือไม่เข้าใจภาษาไทย ก็ให้จัดหาล่ามให้ตามประมวลก)หมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือจัดหาเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกหรือความช่วยเหลืออื่นใดให้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หากเด็กหรือเยาวชนประสงค์จะติดต่อสื่อสารหรือปรึกษาหารือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยและอยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการได้ ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการให้ตามควรแก่กรณีโดยไม่ชักช้า
๓.๓ เมื่อได้สอบถามเบื้องต้นและแจ้งข้อกล่าวหาตาม ๓.๑ แล้ว ในกรณีที่ไม่มีหมายจับ และเด็กหรือเยาวชนถูกเรียกมา ส่งตัวมา เข้าหาเอง มาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้า หรือมีผู้นำตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นเข้ามอบตัว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดำเนินการตามมาตรา ๑๓๔ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยอนุโลม โดยไม่ต้องนำตัวเด็กและเยาวชนไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุมภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง เนื่องจากไม่ถือว่าเป็นการจับ จึงไม่มีอำนาจควบคุมหรือปล่อยชั่วคราว แต่กฎหมายกำหนดให้พนักงานอัยการต้องยื่นฟ้องต่อศาลให้ทันภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นปรากฎตัวอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ดังนั้น เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้แจ้งข้อกล่าวหาให้เด็กหรือเยาวชนทราบแล้ว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทำหนังสือแจ้งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กและเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจเพื่อทำการสืบเสาะข้อเท็จจริงโดยไม่ต้องส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปด้วย และให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนพยานหลักฐานอื่นต่อไปและให้ติดตามรายงานการสืบเสาะข้อเท็จจริงมารวมเข้าสำนวนไว้ด้วย
๓.๔ เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับ และได้ดำเนินการตาม ๓.๑ แล้ว ให้นำเด็กหรือเยาวชนไปศาลเพื่อให้ศาลตรวจสอบการจับกุมทันที ทั้งนี้ ภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ แต่ไม่นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกจับจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมาศาลเข้าในกำหนดเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนั้นด้วย
กรณีศาลสั่งปล่อยตัวเด็กหรือเยาวชนที่ถูกจับเนื่องจากการจับเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวนคดีนั้นต่อไป โดยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๗๘ และเมื่อทำการสอบสวนเสร็จสิ้น และมีความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้เรียกเด็กหรือเยาวชนมาเพื่อส่งตัวพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ
คำร้องตรวจสอบการจับควรมีสาระสำคัญตามตัวอย่างแนบท้ายหนังสือนี้
๓.๕ ในกรณีที่ต้องนำเด็กหรือเยาวชนไปศาลเพื่อให้ศาลตรวจสอบการจับกุมดังกล่าวใน ๓.๔ หากเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดมีบิดา มารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย และบุคคลหรือองค์การดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ายังสามารถปกครองเด็กหรือเยาวชนนั้นได้ พนักงานสอบสวนอาจมอบตัวเด็กหรือเยาวชนให้บุคคลดังกล่าวไปปกครองดูแลและสั่งให้นำตัวเด็กหรือเยาวชนไปยังศาลภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ในกรณีเช่นว่านี้ หากมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเด็กหรือเยาวชนจะไม่ไปศาล พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจะเรียกประกันจากบุคคลดังกล่าวตามควรแก่กรณีก็ได้
หลักเกณฑ์ วิธีการ และการกำหนดหลักทรัพย์ในการประกันตัวเด็กหรือเยาวชนให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวของ ตร. โดยอนุโลม
๓.๖ กรณีตาม ๓.๔ และ ๓.๕ มิให้นำไปใช้บังคับในคดีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเห็นว่า คดีอาจเปรียบเทียบได้
๓.๗ ในการสอบสวนเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด ให้กระทำในสถานที่เหมาะสมโดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่นหรือมีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในสถานที่นั้นอันมีลักษณะเป็นการประจานเด็กหรือเยาวชน ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงอายุ เพศ สภาวะของเด็กหรือเยาวชนเป็นสำคัญ และต้องใช้ภาษาและถ้อยคำที่ทำให้เด็กหรือเยาวชนสามารถเข้าใจได้ง่าย โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ถ้าเด็กหรือเยาวชนไม่สามารถสื่อสารหรือไม่เข้าใจภาษาไทยให้จัดหาล่ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้ หรือจัดหาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือความช่วยเหลืออื่นใดให้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ทั้งนี้ หากพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเห็นว่า สามารถทำการสอบสวนปากคำเด็กหรือเยาวชนนั้นภายหลังการสอบถามเบื้องต้นตาม ๓.๑ ได้ทันก่อนนำตัวส่งศาลเพื่อให้ศาลตรวจสอบการจับกุม ก็ให้สามารถดำเนินการได้
๓.๘ การแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดไม่จำต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กหรือเยาวชนร้องขอ และพนักงานอัยการอยู่ด้วยตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ และมาตรา ๑๓๔/๒ แต่จะต้องมีที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชนร่วมอยู่ด้วยทุกครั้ง พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่าเด็กหรือเยาวชนมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของเด็กหรือเยาวชนอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ ทั้งนี้ เมื่อคำนึงถึงอายุ เพศ และสภาพจิตของเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดแต่ละราย
ที่ปรึกษากฎหมายตามวรรคหนึ่งดังกล่าวตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๔ มาตรา ๑๒๑ ได้กำหนดคุณสมบัติไว้ว่าต้องมีคุณสมบัติเป็นทหนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความและผ่านการอบรมเรื่องวิธีการพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว มีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยา การสังคมสงเคราะห์ และความรู็อื่นที่เกี่ยวข้องตามกฎหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา แต่ตามบทเฉพาะกาล มาตรา ๒๐๕ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้ภายในสองปี นับแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๘๔ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๓๔ มาใช้บังคับ ซึ่งตามมาตรา ๘๔ ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้กำหนดให้ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากฎหมายมี ๒ ประเภท คือ (๑) ผู้ที่เป็นทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความหรือ (๒) ผู้ที่ได้รับปริญญาทางกฎหมายไม่ต่ำกว่าชั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและได้จดทะเบียนเป็นที่ปรึกษากฎหมาย ฉะนั้น ในระยะเริ่มต้นแรกนี้จึงให้ใช้ที่ปรึกษากฎหมายที่มีคุณสมบัติทั้งสองประเภทดังกล่าวประเภทใดประเภทหนึ่ง
ในการแจ้งข้อกล่าวหาและการสอบถามปากคำเด็กหรือเยาวชนนั้น บิดามารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนพักอาศัยอยู่ด้วยจะเข้าร่วมรับฟังการสอบสวนดังกล่าวด้วยก็ได้
๓.๙ เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจัดให้มีหรืออนุญาตให้มีหรือยินยอมให้มีการถ่ายภาพหรือบันทึกภาพเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด เว้นแต่ประโยชน์ในการสอบสวน
๓.๑๐ ในระหว่างการสอบสวน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอายุของเด็กที่ถูกจับกุมหรือควบคุมให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีอำนาจดำเนินการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่หากปรากฎภายหลังว่าเด็กนั้นมีอายุไม่เกินสิบปีบริบูรณ์ในขณะกระทำความผิดและเด็กนั้นอยู่ในควบคุมของสถานพินิจหรือองค์การอื่นใด ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแจ้งให้สถานพินิจหรือองค์การดังกล่าวทราบ เพื่อที่สถานพินิจหรือองค์การดังกล่าวนั้นจะได้รายงานให้ศาลทราบและมีคำสั่งต่อไป
๓.๑๑ หากปรากฏเป็นที่แน่ชัดว่าเด็กซึ่งถูกจับกุมหรือควบคุมนั้นในขณะกระทำความผิดอายุไม่เกินสิบปีบริบูรณ์ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวนไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ทำความเห็นว่า เด็กนั้นได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา หรือพยานหลักฐานรับฟังไม่ได้ว่าเด็กกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาเท่านั้น(ไม่ต้องทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือควรสั่งไม่ฟ้อง) แล้วส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ
ในระหว่างการสอบสวนให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมอบตัวเด็กให้อยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย ในกรณีที่เด็กไม่มีบิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การดังกล่าว ให้ส่งตัวเด็กไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในโอกาสแรกที่กระทำได้ แต่ต้องภายในเวลาไม่เกินยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่เด็กนั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
(๒) ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบด้วยว่าเด็กไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา หรือพยานหลักฐานรับฟังไม่ได้ว่าเด็กกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ แจ้งบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วยหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบแล้วแต่กรณีในโอกาสแรกที่กระทำได้แต่ต้องภายในเวลาไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่รับทราบความเห็นของพนักงานอัยการ
(๓) หากพนักงานอัยการเห็นว่าเด็กนั้นได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบส่งตัวเด็กไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในโอกาสแรกที่กระทำได้แต่ต้องภายในเวลาไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่รับทราบความเห็นของพนักงานอัยการเพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ
๓.๑๒ เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดตาม ๒.๓ หรือกรณีเด็กหรือเยาวชนปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ๓.๑ ให้รีบดำเนินการสอบสวนและส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องให้ทันภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นถูกจับกุมหรือรับทราบข้อกล่าวหากรณีปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ แล้วแต่กรณี
ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินหกเดือนแต่ไม่เกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม หากเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องเด็กหรือเยาวชนนั้นต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้อีกครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองครั้ง
ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกเกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อศาลสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องครบสองครั้งแล้ว หากพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปอีกโดยอ้างเหตุจำเป็น ศาลจะอนุญาตตามขอนั้นได้ต่อเมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้แสดงถึงเหตุจำเป็นและนำพยานมาเบิกความประกอบจนเป็นที่พอใจแก่ศาล ในกรณีเช่นว่านี้ ศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องต่อไปอีกได้ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองครั้ง
การผัดฟ้องตามวรรคสองและวรรคสาม ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบมีอำนาจผัดฟ้องต่อศาลที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบอยู่ในเขตอำนาจนั้นได้
๓.๑๓ ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนผู้ต้องหาหลบหนีจากการควบคุมในระหว่างสอบสวนหรือในระหว่างจัดทำและปฏิบัติตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดี มิให้นับระยะเวลาดังกล่าวนั้นรวมเข้าในกำหนดระยะเวลาตาม ๓.๑๒
๓.๑๔ ในกรณีที่จำต้องควบคุมตัวเด็กหรือเยาวชนผู้ต้องหานั้นไว้ปะปนกับผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่ และห้ามมิให้ควบคุมไว้ในห้องขังที่จัดไว้สำหรับผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่
๓.๑๕ เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชน ห้ามมิให้เปิดเผยหรือนำประวัติการกระทำความผิดอาญาของเด็กหรือเยาวชนไปพิจารณาให้เป็นผลร้ายหรือเป็นการเลือกปฏิบัติอันไม่เป็นธรรมแก่เด็กหรือเยาวชนนั้นไม่ว่าในทางใด ๆ เว้นแต่เป็นการใช้ประกอบดุลยพินิจของศาลเพื่อกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน
๓.๑๖ ในระหว่างการจัดทำและปฏิบัติตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดี ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบงดการสอบปากคำหรือดำเนินการใด ๆ เฉพาะกับเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด แต่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบยังต้องการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานอื่น ๆ ต่อไป
๔. กรณีเมื่อมีการกระทำอันเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวและผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงไม่อยู่ในสภาพหรือวิสัยที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลเยาวชนและครอบครัวออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวตามกฎหมายได้เอง พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่บุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่ หรือมีภูมิลำเนา หรือมีมูลเหตุเกิดอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีเขตอำนาจแทนบุคคลนั้นก็ได้
๕. กรณีที่มีการปฏิบัติต่อเด็กโดยมิชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กและเด็กหรือผู้ปกครองของเด็กไม่อยู่ในสภาพหรือวิสัยที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลเยาวชนและครอบครัวออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่เด็กนั้นมีถิ่นที่อยู่ หรือมีภูมิลำเนา หรือมีมูลเหตุเกิด อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีเขตอำนาจแทนเด็กหรือผู้ปกครองเด็กนั้นก็ได้
๖. การดำเนินคดีใดที่ยังมิได้กระทำจนล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จะต้องกระทำตามกฎหมายที่ใช้บังคับก่อนพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ แต่ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่อาจกระทำได้ ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้ดำเนินคดีนั้นตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ เช่น กรณีเด็กหรือเยาวชนปรากฏต่อหน้าพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา ๗๐ วรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบรับดำเนินการสอบสวน และดำเนินการตามมาตรา ๗๘
จึงแจ้งมาเพื่อทราบ และแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาผู้เกี่ยวข้องทราบและถือปฏิบัติต่อไป
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี
ผบ.ตร.