พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“ความรุนแรงในครอบครัว” หมายความว่า การกระทำใด ๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ
หรือสุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ
หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว
หรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ
หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ แต่ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาท
คู่มือการปฏิบัติงานของหน่วยงานในการช่วยเหลือคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว โดย กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้อธิบายความหมายหรือลักษณะของ “ความรุนแรงในครอบครัว” เป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้
๑. การกระทำใดๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ
หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว
กล่าวคือ
ผู้กระทำกระทำการใด ๆ โดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ
หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว ก็ถือเป็นการกระทำ “ความรุนแรงในครอบครัว” ไม่ว่าการกระทำนั้นจะก่อให้เกิดผลบาดเจ็บสาหัส
บาดเจ็บธรรมดา หรือไม่ถึงกับเป็นอันตรายใด ๆ เลยก็ตาม เช่น ขว้างมีดใส่แต่เฉียดไป ดังนั้น จะต้องพิจารณาจากเจตนาที่มุ่งประสงค์เป็นสำคัญ
ว่าเจตนาที่มุ่งประสงค์ต่อการกระทำนั้นถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย
จิตใจ หรือสุขภาพด้วยหรือไม่
“อันตรายต่อร่างกาย” หมายถึง
การทำให้ได้รับความบาดเจ็บแก่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยใช้กำลังทำร้ายหรือไม่
และไม่จำต้องถูกเนื้อต้องตัว เช่น
หลอกให้เขาเดินตกหลุมที่ขุดดักเอาไว้จนได้รับบาดเจ็บ
ทำให้เขาตกใจจนกระโดดหนีจากบ้านล้มลงถึงขาหักย่อมเป็นอันตรายแก่ร่างกายทั้งสิ้น
บาดแผลที่เกิดจากการถูกกระทำไม่จำเป็นต้องมีแผลโลหิตไหลภายนอก
อาจเป็นแผลเลือดไหลอยู่ภายในก็ได้ ๔ ซึ่งพิจารณาได้ว่า การกระทำอันตรายต่อร่างกาย
เป็นการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้เกิดเป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือไม่
ซึ่งบางกรณีอาจต้องใช้หลักเกณฑ์การวินิจฉัยทางการแพทย์ เช่น
สามีตบตีทำร้ายร่างกายภรรยา เกิดผลบาดเจ็บต่ออวัยวะภายในของภรรยา เป็นต้น
“อันตรายต่อจิตใจ” หากพิจารณาความหมายในประมวลกฎหมายอาญา
ประกอบกับคำพิพากษาศาลฎีกา
การกระทำใดจะถือเป็นอันตรายต่อจิตใจต้องเป็นกรณีที่การกระทำนั้นถึงขนาดที่ทำให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจ
สภาพจิตผิดปกติ เช่น สลบ หมดสติ มึนงง จิตฟั่นเฟือน ตกใจกลัวถึงขนาดประสาทเสีย
หรือวิตกกังวลจนประสาทเสีย ซึ่งอาจต้องพิสูจน์ได้ในทางการแพทย์ หรือจิตเวช
ส่วนการทำให้โกรธ ทำให้กลัว ทำให้เสียความรู้สึก น้อยใจ เจ็บใจ แค้นใจ
ถูกเหยียดหยามหรือการทำให้เสียใจโดยทั่วไป
เป็นเพียงอารมณ์ซึ่งเป็นอาการอันเกิดจากจิตใจไม่ใช่เป็นอันตรายที่เกิดกับจิตใจโดยแท้
เช่น การที่สามีไปมีภรรยาน้อย ทำให้ภรรยาหลวงเสียใจ ดังนี้
ย่อมไม่เป็นการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว เพราะเป็นอารมณ์ไม่ใช่เป็นอันตรายแก่จิตใจ
แต่เป็นความรู้สึกที่เรียกว่า “จิต” นี้ ไม่มีตัวตนจึงถูกทำร้ายไม่ได้ เป็นเพียงการเปรียบเทียบเท่านั้น
แท้จริงร่างกายส่วนที่รับรู้ในสิ่งเหล่านี้คือ สมอง ดังนั้น
การทำร้ายจิตใจตามกฎหมายจึงได้แก่ การทำร้ายจนสมองเสียหาย หากเนื้อสมองหลุดหาย
ก็เป็นส่วนของร่างกาย จึงเป็นการทำอันตรายแก่ร่างกายได้
แต่ถ้าหากเนื้อสมองไม่เสียหายแต่ทำให้สมองหยุดสั่งการหรือสั่งการอย่างผิดๆ
ถึงขั้นที่เรียกได้ว่าเป็นอันตรายต่อจิตใจ
ซึ่งบางกรณีอาจต้องพิสูจน์ได้ในทางการแพทย์หรือจิตเวช ดังนั้น คำว่า “จิตใจ” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
พ.ศ. ๒๕๕๐ ไม่ใช่ความรู้สึกหรืออารมณ์
การทำร้ายจิตใจจึงมิใช่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีมากระทบจิตใจ เช่น เสียใจ
เจ็บใจ แค้นใจ
ตัวอย่างกรณีไม่เป็นอันตรายแก่จิตใจ เช่น
สามีจดทะเบียนโอนที่ดินให้กับภรรยาน้อย เมื่อภรรยาหลวงทราบ ทำให้ภรรยาหลวงคับแค้นใจเป็นอย่างมาก
กรณีเช่นนี้ไม่เป็นอันตรายแก่จิตใจ
ตัวอย่างกรณีเป็นอันตรายแก่จิตใจ
เช่น
• สามีรู้ว่าภรรยากลัวผีเป็นอย่างมาก จึงแกล้งทำเป็นผีหลอกทำให้ภรรยาตกใจกลัวจนประสาทเสีย หรือ
• สามีใส่ยากล่อมประสาทในอาหารให้ภรรยากิน เมื่อภรรยากินสะสมระยะเวลาหนึ่ง ทำให้ภรรยาไม่ได้สติ มีอาการคล้ายคนบ้า หรือสามีให้ภรรยากินยาระงับประสาท หรือยาทำให้ภรรยามึนเมาไม่ได้สติ หรือ
• สามีรู้ว่าภรรยากลัวห้องมืดและแคบ สามีจึงจับภรรยามาขังในห้องมืด ทำให้ภรรยากลัวจนหมดสติ
• สามีรู้ว่าภรรยากลัวผีเป็นอย่างมาก จึงแกล้งทำเป็นผีหลอกทำให้ภรรยาตกใจกลัวจนประสาทเสีย หรือ
• สามีใส่ยากล่อมประสาทในอาหารให้ภรรยากิน เมื่อภรรยากินสะสมระยะเวลาหนึ่ง ทำให้ภรรยาไม่ได้สติ มีอาการคล้ายคนบ้า หรือสามีให้ภรรยากินยาระงับประสาท หรือยาทำให้ภรรยามึนเมาไม่ได้สติ หรือ
• สามีรู้ว่าภรรยากลัวห้องมืดและแคบ สามีจึงจับภรรยามาขังในห้องมืด ทำให้ภรรยากลัวจนหมดสติ
“อันตรายต่อสุขภาพ” หมายถึง การกระทำนั้นทำให้เสียสุขภาพ หรือเกิดอาการเจ็บป่วยทางร่างกายหรือสุขภาพกาย
แต่ไม่รวมสุขภาพจิต ซึ่งจำต้องอาศัยการวินิจฉัยทางการแพทย์เช่นเดียวกัน เช่น
การแอบใส่ยาลดน้ำหนักให้ภรรยากินเพื่อให้ลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
หรือสามีรู้ว่าภรรยาแพ้ขนแมว แต่กลับนำแมว ๒๕ ตัว มาเลี้ยง เพื่อให้อาการกำเริบ
การกระทำดังกล่าวเหล่านี้ถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๒.
กระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ
หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัวกล่าวคือ ผู้กระทำ กระทำการใดๆ
โดยเจตนาซึ่งการกระทำดังกล่าวมีลักษณะที่วิญญูชนพิจารณาแล้วเห็นว่า “น่าจะก่อให้เกิดอันตราย” แก่ร่างกาย จิตใจ
หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว
แม้ผู้กระทำจะไม่รู้ว่าการกระทำดังกล่าวน่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ
หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว เช่น สามีอารมณ์ฉุนเฉียวขว้างปาสิ่งของในบ้าน
หรือสามีหลอกภรรยาให้ตกใจกลัวว่าจะมีคนมาลอบทำร้ายร่างกาย
หรือสามีขับรถน่าหวาดเสียวเพื่อขู่ให้ภรรยาเกิดความกลัว
หรือบิดาลงโทษบุตรที่ติดเล่นเกมส์ออนไลน์ด้วยการให้บุตรอดอาหาร ๑ วัน กรณีเช่นนี้ถือเป็นการกระทำในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจแล้ว
เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดที่ไม่ต้องการผล แค่น่าจะเกิดผล
ก็ถือเป็นความรุนแรงในครอบครัวแล้ว
โดยผู้กระทำต้องมีเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ
หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว