วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเปรียบเทียบปรับเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี

           พนักงานสอบสวนไม่สามารถรับชำระค่าปรับในคดีมีอัตราโทษปรับสถานเดียว กรณีเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีกระทำผิดและยินยอมเสียค่าปรับได้
           ไม่ว่าจะเป็นการปรับในอัตราอย่างสูงตาม ป.วิ อาญา มาตรา ๓๗ (๑) หรือจะทำการเปรียบเทียบตาม (๒) (๓) และ (๔) ก็ไม่ได้เช่นกัน

           กฎหมายที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
            ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

           มาตรา ๓๗  คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้
           (๑)  ในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่าปรับ ในอัตราโทษอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ก่อนศาลพิจารณา
           (๒)  ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว
           (๓)  ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้ทำการแทนในตำแหน่งนั้นๆ ได้เปรียบเทียบแล้ว
           (๔) ในคดีเปรียบเทียบได้ตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว

           มาตรา ๓๘  ความผิดตามอนุมาตรา (๒) (๓) และ (๔) ถ้าเจ้าพนักงานดังกล่าวในมาตรา ๓๗ เห็นว่า ผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจำคุก ให้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับดังนี้
           (๑) ให้กำหนดค่าปรับซึ่งผู้ต้องหาจะพึงชำระ ถ้าผู้ต้องหาและผู้เสียหายยินยอมตามนั้น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่กำหนดให้ ภายในเวลาอันสมควร แต่ไม่เกินสิบห้าวัน คดีนั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาด
                  ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในกำหนดเวลาในวรรคก่อนให้ดำเนินคดีต่อไป

            มาตรา ๓๙  สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดังต่อไปนี้
            (๑) โดยความตายของผู้กระทำผิด
            (๒) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
            (๓) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗
            (๔) เมื่อคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
            (๕) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิดเช่นนั้น
            (๖) เมื่อคดีขาดอายุความ
            (๗) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ

            ประมวลกฎหมายอาญา
           มาตรา ๗๓  เด็กอายุไม่เกินสิบปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ